สิ่งที่ประทับใจ

Posted: กรกฎาคม 10, 2011 in กิจกรรม

ฉันประทับใจในบทความนี้มาก

เพียงแค่ คำบางคำที่คุณเอ่ย…
อาจมีผลทำให้คนที่คุยกำลังสนทนาอยู่ด้วย
รักหรือเกลียดคุณเลยก็ได้ เอ๊ะ ! ยังไงกัน
คุณเคยสังเกตุบ้างรึเปล่า ?
ว่าในบางครั้ง คนที่คุณคุ้นเคย สนิทชิดเชื้อกันมานานบัดนี้
เค้ากำลังทำท่าทางเหมือนกับไม่อยากจะพบคุณเอาซะเลย
หลบได้เป็นหลบ หลีกได้เป็นหลีกบางทีอาจเป็นเพราะ เจ้าคำ…บางคำ
ที่คุณเอ่ยออกไปโดยที่มิได้ฉุกคิดนี่ละ

คือเจ้าตัวสาเหตุของปัญหายกตัวอย่างง่ายๆ
สมุมติว่าวันนี้เพื่อนคุณสวมเสื้อตัวใหม่มาทำงาน
แต่เผอิญว่าเจ้าเสื้อตัวใหม่ของเพื่อนคุณนะ
มันช่างไม่เหมาะสมกับเพื่อนคุณเอาซ่ะเลย
คือดูยังไงก็น่าเกลียด คุณก็แสนดีเป็นคนตรงไปตรงมา
คิดยังไงก็พูดออกไปอย่างนั้น (อย่างงี้เค้าเรียกว่าคนตรง)
โดยที่คุณไม่ทันยั้งคิดว่า เพื่อนคุณจะรู้สึกอย่างไร
คุณก็พูดกับเค้าไปตรงๆ แทนที่จะอ้อมๆ
รักษาน้ำใจก็ดั้นไปพูดกับเพื่อนคุณตรงๆ
จนทำให้วันต่อมาเพื่อนคุณหายไปจากวงจรชีวิตของคุณไปซ่ะดื้อๆ

ในบางครั้งคนเราก็ไม่สามารถที่จะพูดความจริงได้ทั้งหมด
และการที่เราไม่พูดความจริง ออกมาทั้งหมดนั้น
ก็มิได้หมายความว่าเราเป็นคนโกหก
แต่มันกลับเป็นการรักษาน้ำใจอย่างหนึ่งของเพื่อนร่วมงาน
และบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดคุณ คุณลองคิดดูซิว่า
ถ้าเกิดวันหนึ่งหมอเกิดพูดความจริงกับคนไข้
ที่อาการสาหัส จะตายวันตายพรุ่งก็ไม่รู้
ว่า “คุณคงไม่รอดแล้วละ ” กับ แทนที่จะพูดว่า
“คุณไม่ได้เป็นอะไรมากหรอก เดี๋ยวก็กลับบ้านได้แล้วละ”
(จะเป็นบ้านเก่า หรือบ้านใหม่ค่อยว่ากันอีกที)
บางครั้งคำพูดที่หมอบอกกับคนไข้นั้น……
มันสามารถทำให้คนไข้เสียชีวิตหรืออยู่รอดในวินาทีนั้นเลยก็ได้

ดังนั้นก่อนที่คุณจะเอ่ยคำใดออกไป ควรที่จะหยุดคิดสักนิดนึง
เพราะคนเราทุกคนอยู่ได้ด้วยกำลังใจ คุณก็คงจะเป็นคนหนึ่ง
ที่ต้องการกำลังใจจากคนรอบข้างเช่นกัน…..
เมื่อใดที่คุณต้องการกำลังใจจากผู้อื่น
คุณควรเป็นผู้ให้กำลังใจแก่ผู้อื่นเสียแต่วันนี้

สิ่งที่ประทับใจ

Posted: กรกฎาคม 9, 2011 in กิจกรรม

บทกลอน….แม่
อันหญิงใด  ให้กำเนิด  เกิดมนุษย์
โลกสมมุติ  นามนิยม  ไว้คมสัน
เรียกว่าแม่  มาแต่แรก  ที่แบกครรภ์
เพราะมีท่าน  ครอบครอง  ป้องลูกมา
————————-
ให้น้ำนม  ให้น้ำคำ   น้ำใจรัก
ให้น้ำพัก  น้ำแรง  จากแข้งขา
ยอมอาบเหงื่อ  ต่างน้ำ  นำทรัพย์มา
เพื่อลูกยา  ได้ผาสุก  ทุกคืนวัน
———————
ทั้งสามภพ  ยกตั้ง  ขึ้นชั่งเปรียบ
หนักไม่เทียบ  พระคุณแม่  สุดแลหา
ถึงอบอุ่น  สุริยันต์  และจันทรา
อกมารดา  อิงอุ่น  กว่าสูญจันทร์
แม้ธารทิพย์  หลั่งไหล  มาให้ดื่ม
ไม่ปลาบปลื้ม  ซาบซ่าน  เท่าธารถัน
ถึงนางฟ้า  มาอุ้ม  ช่วยคุ้มกัน
ไม่เทียมทัน  ตาแม่  ที่แลมอง
แม้สังขาร ลานแหลก แม่แลกได้
หวังจะให้  ลูกตน  พ้นภัยผอง
ถึงสูญสิ้น  ดินฟ้า  ธารานอง
พระคุณของ  แม่เรานี้  ย่อมมีเอย
——————
เหงื่อไคล    แม่ไหลริน
ลงโลมดิน    แทบสิ้นใจ
ก้มหน้า       หาเงินไป
เพื่อให้ใคร    ได้อยู่กิน
อดนอน    ทนร้อนหนาว
อดหวานคาว    อดข้าวกิน
แม่อด   เกือบหมดสิ้น
ให้ลูกกิน ด้วยยินดี
————
วันใดเล่า เจ้าหว้าเหว่  และเงียบเหงา
ขอเจ้า  กลับคืนบ้าน  เถิดหนา
พ่อและแม่  จะคอยรับ  ซับน้ำตา
เยียวยา  รักษา  แผลใจ
หญิงแก่ ๆ  คนนี้  ยังคอยอยู่
เอ็นดู  ลูกเสมอ  เจ้ารู้ไหม
ไม่เคยคิด  มุ่งร้าย  หมายพิษภัย
มีแต่ให้  กับให้  ด้วยใจจริง
รักคนอื่น  หมื่นแสน  ไม่แม้นแม่
เป็นรักแท้  มอบให้  ลูกชายหญิง
พร้อมปลิดชีพ  พลีร่าง  ไม่ประวิง
เจ้าคือสิ่ง   สูงค่า  แก้วตาเอย
—————-
รักไหนเล่า  รักแน่  เท่าแม่รัก
ผูกสมัคร  รักมั่น  ไม่หวั่นไหว
ห่วงใดเล่า  เท่าห่วง  ดั่งดวงใจ
ที่แม้ให้  กับลูก  อยู่ทุกครา
ยามลูกขื่น  แม่ขม ตรมหลายเท่า
ยามลูกเศร้า  แม่โศก  วิโยคกว่า
ยามลูกหาย  แม่ห่วง  คอยดวงตา
ยามลูกมา  แม่ลด  หมดห่วงใย
—————–
ขอให้เรา  รักแม่  นับแต่นี้
ยังจะดี  กว่ารักแม่  ยามแก่เฒ่า
ให้ท่าน  ได้ประจักษ์  รักของเรา
ดีกว่าเฝ้า  ทำบุญให้  เมื่อวายชน

ความประทับใจ

Posted: กรกฎาคม 8, 2011 in กิจกรรม

วันพุธที่6 ฉันได้ซื้อรองเท้าใหม่

วันพฤหัสสบดีที่7 ฉันได้สอบวิชาอังกฤษเเละทำคะเเนนได้ดี

วันศุกร์ที่8 ฉันได้รับคำชมจากอาจารย์ที่สอนการปฐมพยาบาลว่ากลุ่มพวกฉันเเสดงได้ดีอาจารย์ชอบมาก

มัสยิดกรือเซะ

Posted: กรกฎาคม 5, 2011 in Uncategorized

มัสยิดกรือเซะ ตั้งอยู่ที่บ้านกรือเซะ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมือง ตามทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส) ห่างจากตัวเมือง ประมาณ 7 กม.เป็นมัสยิดเก่าแก่ อายุกว่า 200 ปี สันนิษฐานได้ว่าเป็นศาสนสถาน ที่สร้างขึ้น ในพุทธศตวรรษที่ 22 ร่วมสมัยอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. 2478 ลักษณะการก่อสร้างเป็นแบบเสากลม รูปลักษณะแบบเสาโกธิกของยุโรป ช่องประตูหน้าต่างมีทั้งแบบโค้ง แหลมและโค้งมน ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ หลังคาโดม ซึ่งยังสร้างไม่แล้วเสร็จ บริเวณด้านหน้าของมัสยิดมีฮวงซุ้ย หรือสุสานที่ฝังศพของ เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ที่ได้รับการตกแต่งพูนดินใหม่ปรากฏอยู่ มีผู้คนไปกราบไหว้กันมากพร้อมด้วยสิ่ง- ก่อสร้างอื่น ๆ เช่น เก๋งจีน โอ่งน้ำสีแดง (ซึ่งจุน้ำได้ถึง 120,000 ลิตร) มัสยิดกรือเซะนี้ สร้างโดยลิ้มโต๊ะเคี่ยม ซึ่งเป็นชาวจีนได้มาแต่งงานกับธิดาพระยาตานีและได้เปลี่ยน มานับ ถือศาสนาอิสลาม ต่อมาน้องสาวของลิ้มโต๊ะเคี่ยมชื่อลิ้มกอเหนี่ยว ได้ลงเรือสำเภามาตามให้พี่ชายกลับ เมืองจีนแต่ไม่สำเร็จ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้สร้างมัสยิดกรือเซะขึ้น ลิ้มกอเหนี่ยวจึงได้สาปแช่ง ขออย่าให้สร้าง มัสยิดสำเร็จ และตัวเองได้ผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้จัดการฝังศพน้องสาวไว้ที่หน้า มัสยิดนี้ ชาวปัตตานีนำต้นไม้ที่ลิ้มกอเหนี่ยวผูกคอตายมาแกะเป็นรูปบูชาและสร้างศาลเจ้า ต่อมาได้มีการ อัญเชิญเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวมาประดิษฐานไว้ ณ ศาลเจ้าแห่งใหม่ ตั้งอยู่ที่ถนนอาเนาะรู ในเขตเทศบาล เมืองปัตตานี เรียกว่าศาลเจ้าเล่งจูเกียง ( ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว) เป็นที่นับถือของชาวปัตตานี และชาวจังหวัด ใกล้เคียง ในเดือน 3 ของทุกปี ( กุมภาพันธ์-มีนาคม ) จะมีพิธีเซ่นไหว้และแห่เจ้าแม่ นับว่าเป็นพิธีที่สนุก- สนานมาก ส่วนมัสยิดกรือเซะก็เป็นไปตามคำสาป เพราะไม่สามารถสร้างเสร็จได้ เมื่อจะสร้างต่อก็ให้มีอาเพศ ฟ้าผ่าทุกครั้งไป จนถึงปัจจุบันก็ไม่มีใครกล้าสร้างมัสยิดกรือเซะต่อ คงเหลือซากทิ้งไว้ตราบเท่าทุกวันนี้

การทำข้าวเกรียบ
เรามาดูส่วนผสมกัน

  1. กุ้ง (หรือ ปลา ฟักทอง ปลาหมึก เห็ด ฯลฯ อะไรก็ได้) 1/2 กิโล
  2. แป้งมัน 2 1/2 กิโล
  3. แป้งสาลี 2 ช้อนโต๊ะ
  4. เกลือป่น 2 ช้อนโต๊ะ
  5. กระเทียม (เอาเปลือกออก) 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
  6. พริกไทย 2 ช้อนโต๊ะ
  7. น้ำ

วิธีทำ

  • ทำความสะอาดกุ้ง เอาเนื้อกุ้งไปโขลกหรือปั่นให้ละเอียด เติมเกลือ เติมน้ำ พริกไทย กระเทียม(ที่ปั่นหรือโขลกแล้ว) แล้วปั่นอีกครั้งจนละเอียดและเข้ากันดี
  • นำส่วนผสมที่ได้จากการปั่น ไปเทคลุกเคล้ากับแป้งมัน และแป้งสาลี แล้วนวดให้เข้ากันประมาณ 30-40 นาที
  • จากนั้นเราก็ ปั้นให้เป็นแท่งยาว สัก 5-6 แท่ง
  • แล้วนำไปใส่ลังถึง นึ่งประมาณ 1 ชั่วโมง (ดูให้มันสุก)
  • เมื่อสุกแล้ว เราก็ยกลงมาทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นเราก็หั่นเป็นชิ้นบางๆ แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง พอแห้งแลัวเราก็นำมาทอดขายได้เลย

 

เรื่องตลกที่สุดในชีวิตเป็นเหตุการณืที่เกิดขึ้นในสมัยที่ฉันอยู่ม.4 วันนั้นเป็นวันพุธเเละฉันได้เรียนคาบเเรกคือวิชาชีววิทยา อาจารย์สั่งให้ฉันลงไปเอาสมุดเพื่อนที่ส่งการบ้านพอฉันลงไปเอาสมุดฉันกลับใส่ร้องเท้าคนล่ะข้างโดนเพื่อนๆในห้องหัวเราะฉันอายมาก พอหลังจากนั้นฉันไปเอาสมุดเเล้วเดินผ่านหน้าห้องมอ.5ฉันได้เดินสะดุดพื้นห้องเพราะพื้นห้องมันไม่เรียบทำให้ฉันล้มลงเเล้วกลิ้ง

ฉันขำเเละอายมากๆทำไหมเป็นคนกะหล่อนอย่างนี้

น้ำบูดู

Posted: มิถุนายน 29, 2011 in สาระน่ารู้

ประวัติของน้ำบูดู

        ประวัติการทำบูดูจากการศึกษาค้นคว้าถึงที่มาของการผลิตบูดูนั้น ไม่พบหลักฐานที่อ้างถึงการผลิตบูดูเป็นลายลักษณ์อักษร แต่จากการสอบถามผู้ผลิตบูดูทั้งที่ผลิตเพื่อจำหน่าย และผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน มักจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ โดยในสมัยก่อนนั้นชาวอำเภอสายบุรี มีอาชีพประมงเป็นส่วนใหญ่ โดยผู้ชายมีหน้าที่ออกทะเลไปหาปลา ส่วนผู้หญิงเป็นแม่บ้าน เมื่อผู้ชายกลับมาจากทะเลก็ได้ปลาทะเลมาเป็นจำนวนมาก จนบางครั้งบริโภคไม่หมดจึงได้คิดวิธีการถนอมอาหารโดยการนำปลามาหมักกับเกลือ ซึ่งจะใช้ปลาทุกชนิดที่บริโภคไม่หมด ต่อมามีการค้นพบว่า การนำปลากะตักมาหมักกับเกลือนั้นจะทำให้ได้บูดูที่มีรสชาติดีกว่าปลาชนิดอื่น
ส่วนคำถามที่ว่า “ทำไมถึงเรียกว่า บูดู” ก็ไม่พบหลักฐานอ้างอิงเช่นกัน แต่จากการสอบถามผู้ผลิตได้คำตอบที่หลากหลาย ดังนี้
1.อาจมาจากคำว่า “บูด” เพราะในการหมักบูดูปลาจะมีลักษณะเน่าเละ คล้ายของบูด ซึ่งต่อมาอาจจะออกเสียงเป็น บูดู
2.อาจมาจากคำว่า “บูบู๊” ซึ่งเป็นอุปกรณ์จับปลาตัวใหญ่ เรียกว่า ปลาฆอ
3.เป็นคำที่มาจากภาษามลายูหรือภาษายา
รายงานว่า คำว่า บูดูเป็นคำที่ยืมมาจากาษามลายู หรือภาษายาวี ตามเกณฑ์ที่ 1 คือ เป็นคำที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ในภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานี และเป็นคำที่มีใช้ในภาษาไทยทั่วไป หรือไม่ใช่ศัพท์เฉพาะถิ่นของภาษาไทยทั่วไป
4.เป็นคำที่มาจากภาษาอินโดนีเซีย แปลว่า ปลาหมักดอง

                              กระบวนการผลิตบูดู

        กระบวนการผลิตบูดูนั้นเริ่มด้วยการนำปลาทะเลสด ซึ่งอาจจะใช้ปลาชนิดใดก็ได้ แต่ผู้ผลิตบูดูในอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานีจะนิยมใช้ปลากะตัก เพราะจะได้บูดูที่มีกลิ่น และรสชาติดี โดยผู้ผลิตจะซื้อปลากะตักจากชาวประมงที่กลับเข้าฝั่งในตอนเช้า หลังจากนั้นจึงนำปลากะตักมาล้างให้สะอาด (ผู้ผลิตบางรายจะไม่ทำการล้างปลา โดยให้เหตุผลว่า จะทำให้รสชาติและกลิ่นของบูดูเสียไป และกระบวนการหมักจะช่วยให้บูดูสะอาดเองตามธรรมชาติ นอกจากนี้ผู้บริโภคก็จะนำบูดูไปปรุงก่อนบริโภคอยู่แล้ว) ใส่กระบะไม้ขนาดประมาณ 0.5 x 2 เมตร แล้วเติมเกลือสมุทรประเภทหยาบลงไป โดยใช้อัตราส่วน ปลากะตักต่อเกลือ 3:1 โดยน้ำหนัก หลังจากนั้นจะทำการคลุกให้เข้ากันโดยใช้ไม้พาย เมื่อคลุกปลากะตักกับเกลือให้เข้ากันได้ที่ดีแล้ว ก็จะนำไปใส่ในโอ่งดินหรือบ่อซิเมนต์ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “บ่อบูดู” มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร สูง 1 เมตร แล้วใช้กระสอบปุ๋ยหรือผ้าคลุมปิดไว้ เพื่อคอยให้ปลานั้นยุบตัวลงไปอีก (สาเหตุที่ต้องคอยให้ปลายุบตัวลงไป เพราะว่าในการหมักจะต้องพยายามให้มีอากาศเข้าไปในบ่อบูดูน้อยที่สุด) แล้วจึงเติมปลาและเกลือที่คลุกแล้วลงไปอีก จนเกือบเต็ม โดยจะเว้นปริมาตรบางส่วนของบ่อบูดูไว้เพื่อเผื่อก๊าซที่เกิดจากการหมักดันฝาปิดบ่อบูดู เมื่อปลาในบ่อบูดูอัดแน่นดีแล้วจึงทำการปิดบ่อบูดูให้มิดชิดด้วยกระสอบเกลือ แล้วไม้ไผ่สาน หรือกระเบื้องหลังคาปิดทับอาจใช้วัตถุหนักทับไว้ ระยะเวลาการหมักจะใช้เวลาประมาณ 8-12 เดือน โดยในช่วงระหว่างการหมักจะไม่มีการเปิดบ่อบูดูเลย และจะต้องพยายามไม่ให้น้ำเวลาฝนตกเข้าไปในบ่อบูดู จะทำให้บูดูมีสีดำ และมีกลิ่นเหม็น
เมื่อครบกำหนดเวลาผู้ผลิตจะเปิดบ่อบูดูซึ่งจะมีน้ำบูดูและเนื้อบูดูปะปนกันอยู่ในบ่อบูดู ในการนำบูดูออกจากบ่อบูดูจะทำโดยการเปิดฝาที่ครอบบ่อบูดู และเอาไม้ไผ่ที่สานออก ตักเกลือที่อยู่บนกระสอบเกลือออก แล้วนำกระสอบเกลือออก นำแกลอนพลาสติกที่เปิดหัวเปิดท้าย ใส่ลงไปในเนื้อบูดูในบ่อบูดู ตักเนื้อบูดูที่อยู่ในแกลอนพลาสติกออกเพื่อให้เหลือแต่น้ำบูดู และน้ำบูดูจะไหลเข้ามาภายในแกลอนพลาสติก โดยมีเนื้อบูดูปะปนเข้ามาบ้างเล็กน้อย แล้วจึงใช้ภาชนะตักน้ำบูดูในแกลอนพลาสติกขึ้น เพื่อนำไปบรรจุในภาชนะ ส่งต่อให้ผู้จัดจำหน่ายต่อไป โดยบูดูที่มีน้ำบูดูเป็นส่วนใหญ่จะเรียกว่า “บูดูใส” ส่วนน้ำบูดูที่มีเนื้อบูดูที่เหลือปะปนในบ่อจะนำไปผลิตเป็น”บูดูข้น” ในการหมักปลากะตัก 450 กิโลกรัมจะได้บูดูประมาณ 400 ลิตร นอกจากนี้เนื้อบูดูที่เหลือจะเอาไปผสมกับน้ำเกลือเพื่อทำบูดูที่มีคุณภาพรองลงมา
การบรรจุบูดูใส่ขวดนั้น จะใส่ขวดสองขนาดคือ ขวดกลมและขวดแบน โดยการนำบูดูใส่ขวดที่สะอาด ปิดฝาให้สนิท และนำไปล้างอีกครั้ง แล้วนำพลาสติกมาปิดปากขวดแล้วนำน้ำร้อนราดเพื่อให้พลาสติกปิดสนิท สุดท้ายนำไปปิดฉลาก และส่งจำหน่ายต่อไป
จากการสังเกตพบว่า สถานที่ในการผลิตบูดูนั้น จะทำการผลิตในสวนมะพร้าว ซึ่งผู้ผลิตบอกว่าเนื้อบูดูที่เหลือ และน้ำคาวปลาที่หกระหว่างการผลิตบูดูนั้น จะช่วยทำให้มะพร้าวมีลูกดกและรสชาติดีขึ้น

        ในกระบวนการผลิตบูดู วัตถุดิบสำคัญที่ใช้คือปลา ซึ่งปลาที่ชาวอำเภอสายบุรีนิยมนำมาทำบูดูมากที่สุดคือ ปลากะตัก เนื่องจากเมื่อทำการหมักแล้วจะได้บูดูที่มีสี กลิ่น รส เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ปลากะตักเป็นปลาชนิดหนึ่งที่จัดเป็นพวกปลาผิวน้ำเนื่องจากชอบอาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำ มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น ปลาไส้ตัน , ปลาหัวอ่อน , ปลามะลิ ชาวจีนในประเทศไทยมักจะเรียก ยิ่วเกี๊ยะ หรือจิ๊งจั๊ง ส่วนชาวมุสลิมจะเรียกว่า “อีแกบิลิส”
        ปลากะกะตักที่ตรวจพบในประเทศไทย โดยเฉพาะอ่าวไทยมีอยู่ด้วยกัน 14 ชนิด ซึ่งจะอยู่ใน Phylum : Chordata , Class : Actinopterygii , Order : Clupeiformes , Family : Engraulidae , Genus : Encrasicholina และ Stolephorus ดังนี้

1. Encrasicholina puncifer
2. Encrasicholina heteroloba
3. Encrasicholina devisi
4. Stolephorus indicus
5. Stolephorus commersonii
6. Stolephorus chinensis
7. Stolephorus waiteii
8. Stolephorus insularis
9. Stolephorus dubiosus
10. Stolephorus tri
11. Stolephorus andhraensis
12. Stolephorus baganensis
13. Stolephorus ronquilloi
14. Stolephorus brachycephalus
        ปลากะตักมีการวางไข่เกือบตลอดทั้งปี เช่นเดียวกับปลาผิวน้ำอื่นๆ ทั้งนี้กองประมงทะเลสำรวจพบไข่ปลากะตักเป็นจำนวนมากมีอยู่ 2 ช่วงด้วยกันคือ ช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม โดยบริเวณฝั่งตะวันออก แหล่งวางไข่ที่หนาแน่นของปลากะตักจะเป็นบริเวณ เกาะช้าง , เกาะกูด จังหวัดตราด ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนในได้แก่ บริเวณตอนใต้ของสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ส่วนอ่าวไทยฝั่งตะวันตก ได้แก่บริเวณอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี โดยพื้นที่วางไข่หนาแน่นดังกล่าวจะอยู่บริเวณห่างฝั่งประมาณ 20 ไมล์ นอกเหนือจากที่กล่าวไว้ข้างต้น บริเวณแหลมแม่รำพึง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และบริเวณช่องอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นพื้นที่อีกพื้นที่หนึ่งที่ปลากะตักใช้เป็นแหล่งวางไข่ ส่วนทางด้านฝั่งทะเลอันดามัน ปลากะตักจะวางไข่หนาแน่นในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
        ปลากะตักเป็นปลาผิวน้ำชนิดหนึ่งชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง การผสมพันธุ์เหมือนปลาผิวน้ำอื่นๆ ทั่วไป กล่าวคือ พ่อแม่พันธุ์จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปผสมกับไข่ หลังจากเชื้อของพ่อแม่พันธุ์ได้ผสมกับไข่เรียบร้อยแล้ว ไข่จะฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 22-24 ชั่วโมง ขนาดปลากะตักที่พร้อมจะมีการสืบพันธุ์ยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร และมีไข่ประมาณ 1,600 ฟอง รูปร่างลักษณะของไข่จะแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด บางชนิดมีความคล้ายคลึงกันมาก รูปร่างลักษณะของไข่ปลากะตักจะมี 3 ลักษณะคือ แบบที่หนึ่งจะมีรูปร่างคล้ายรูปไข่หรือลูกรักบี้ แบบที่สองมีรูปร่างยาวรีเหมือนแบบที่หนึ่ง แต่จะมีจุกที่ด้านใดด้านหนึ่ง 1 จุก ส่วนแบบที่สามจะคล้ายกับผลส้มโอและมีจุกอยู่ด้านบน
        ปลากะตักมีการเจริญเติบโตเป็นไปอย่างรวดเร็วในช่วงที่เป็นวัยอ่อน โดยเจริญเติบโตจากแรกฟักออกเป็นตัว (ความยาวประมาณ 1.50-1.75 เซนติเมตร) เติบโตมีขนาด 3 เซนติเมตรในเวลาประมาณ 56 วัน โดยในช่วงที่ปลากะตักมีอายุ 1-6 เดือน จะมีความยาวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8 มิลลิเมตรต่อ 1 เดือน ปลากะตักมีอายุ 6-12 เดือน จะมีขนาดความยาวที่เพิ่มขึ้นน้อยลงโดยเฉลี่ย 3.8 มิลลิเมตรต่อ 1 เดือน อายุเฉลี่ยของปลากะตักประมาณ 1-1.2 ปี และมีอายุอยู่ในสภาวะการประมง 7-9 เดือนโดยประมาณ
ปลากะตักกินอาหารที่เรียกว่า แพลงตอน้งชนิดที่เป็นพืชและชนิดที่เป็นสัตว์ ในกรณีของแพลงตอนชนิดที่เป็นพืช ได้แก่ ไดอะตอม (Diatom) ส่วนแพลงตอนสัตว์ ได้แก่ เศษชิ้นส่วนของสัตว์ชนิดที่มีระยางค์เป็นปล้องๆ (Crustacean) , โคพีพอด (Copepod) , ไข่ของปู และไข่ของหอยสองฝา เป็นต้น อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า เศษชิ้นส่วนของสัตว์ที่มีระยางค์เป็นปล้องจะอยู่ในอัตราส่วนที่สูง บางครั้งพบสูงถึงร้อยละ 50-90 ของปริมาณอาหารทั้งหมดในกระเพาะปลากะตัก โดยเฉพาะในเดือนกรกฎาคมพบเศษชิ้นส่วนของสัตว์ที่มีระยางค์สูงถึงร้อยละ 99 ของอาหารในกระเพาะทั้งหมด อย่างไรก็ตามผลการที่ลึกลงไปพบว่า ปลากะตักขนาดเล็กที่มีความยาวตั้งแต่ 3-5 เซนติเมตรจะกินโคพีพอดมากกว่าเศษชิ้นส่วนสัตว์ที่มีระยางค์ ส่วนปลากะตักที่มีขนาดตั้งแต่ 5-9 เซนติเมตรชอบกินเศษชิ้นส่วนของสัตว์ที่มีระยางค์มากกว่าโคพีพอด ปลากะตักที่มีขนาด 8-9 เซนติเมตรมีชิ้นส่วนสัตว์ที่มีระยางค์ร้อยละ 82.1 ของปริมาณอาหารในกระเพาะทั้งหมด

ที่มาของลิเกฮูลู

มีผู้ให้ที่มาของดิเกฮูลูเอาไว้หลายสำนวน ในที่นี้จะขอหยิบยกออกมา ๒ สำนวน กล่าวคือ หนึ่ง ตามสำนวนที่รับรู้กันโดยทั่วไป มีผู้รู้บางท่านได้ศึกษาไว้ว่าดิเก(Dikir) มีรากศัพท์มาจากคำว่าซี เกร์ ซึ่งเป็นภาษาอาหรับ หมายถึงการอ่านทำนองเสนาะ ส่วนคำว่าฮูลู แปลว่าใต้หรือทิศใต้ รวมความแล้วหมายถึงการขับบทกลอนเป็นทำนองเสนาะจากทางใต้๑ ท่านผู้รู้ยังได้กล่าวไว้อีกว่า ดิเกฮูลูน่าจะเกิดขึ้นเริ่มแรกที่อำเภอรามัน ซึ่งไม่ทราบแน่ว่าผู้ริเริ่มนี้คือใคร ข้อสนับสนุนก็คือชาวปัตตานีเรียกคนในอำเภอรามันว่าคนฮูลู ในขณะที่คนมาเลเซียเรียกศิลปะนี้ว่า “ดิเกปารัต” ซึ่งปารัต แปลว่าเหนือ จึงเป็นที่ยืนยันได้ว่า ดิเกฮูลู หรือดิเกปารัตนี้มาจากทางเหนือของมาเลเซียและทางใต้ของปัตตานี๒ ซึ่งก็คือบริเวณอำเภอรามัน จังหวัดยะลา

และสำนวนที่สอง จากการศึกษาของประพนธ์ เรืองณรงค์ ในหนังสือ “บุหงาปัตตานี คติชนไทยมุสลิมชายแดนภาคใต้”๓ คำว่าดิเก หรือลิเก ในพจนานุกรม Kamus Dewan พิมพ์โดยสมาคมภาษาและหนังสือประเทศมาเลเซียเรียกลิเกเป็นดิเกร์เป็นศัพท์เปอร์เซีย มีสองความหมายคือ เพลงสวดสรรเสริญพระเจ้า ปกติเป็นการขับร้องเนื่องในเทศกาลวันกำเนิดพระนะบี ชาวมุสลิมเรียกงานเมาลิด เรียกการสวดดังกล่าวนี้ว่า “ดิเกเมาลิด”

นอกจากนี้ดิเกยังหมายถึงกลอนเพลงโต้ตอบ นิยมเล่ากันเป็นกลุ่มหรือเป็นคณะ โดยมีไม้ไผ่มาตัดท่อนสั้นแล้วหุ้มกาบไม้ข้างหนึ่งทำให้เกิดเสียงดัง แล้วร้องรำทำเพลงขับแก้กันตามประสาชาวป่า (ว่ากันว่าไม้ไผ่หุ้มกาบไม้นี้ได้กลายเป็นบานอ หรือรือปานา หรือรำมะนาที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้)

ประพนธ์ เรืองณรงค์ ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ดิเกน่าจะมาจากความหมายที่สอง คือกลอนเพลงโต้ตอบ นิยมเล่นกันเป็นหมู่คณะ ซึ่งเป็นการร้องเพลงลำตัดภาษาอาหรับ ที่เรียกว่า “ซีเกร์มีรฮาแบ” การร้องเป็นภาษาอาหรับ ถึงแม้จะไพเราะแต่คนไม่เข้าใจ จึงนำเอาเนื้อเพลงภาษาพื้นเมือง ซึ่งก็คือภาษายาวีตีเข้ากับรำมะนา จึงกลายเป็นดิเกฮูลูมาตราบเท่าปัจจุบัน

และการแสดงประเภทนี้น่าจะมีขึ้นครั้งแรก ณ ท้องที่เหนือลำน้ำอันเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำปัตตานี ซึ่งชาวบ้านเรียกฮูลู หรือทิศฮูลู (ฝ่ายใต้ลำน้ำเรียกฮิเล) ตรงทิศฮูลูเป็นแหล่งกำเนิดฮูลูนั้น เข้าใจว่าคือท้องที่อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี และอำเภอบันนังสตา อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

ดิเกฮูลูคณะหนึ่งๆ จะมีสมาชิกประมาณ ๑๐ กว่าคน เป็นชายล้วน เป็นผู้ขับร้องต้นเสียง ๑-๓ คน ที่เหลือจะเป็นลูกคู่ และอาจมีนักร้องภายนอกวงมาสมทบร่วมสนุกอีกก็ได้

บทกลอนที่ใช้ขับร้องนั้น เรียกเป็นภาษามลายูท้องถิ่นว่าปันตน หรือปาตง เวลาแสดงใช้ขับกลอนโต้ตอบ ไม่ได้แสดงเป็นเรื่องราวดังเช่นการละเล่นพื้นบ้านอย่างอื่น เช่น มะโย่ง หรือมโนห์รา

การเเต่งกาย

การแต่งกายของผู้เล่นดิเกฮูลู สมัยก่อนมักแต่งชุดอย่างชาวบ้านทั่วไปคือ โพกหัว สวมเสื้อคอกลม นุ่งโสร่ง บางครั้งเหน็บขวานไว้ข่มขวัญคู่ต่อสู้ ต่อมามีการแต่งกายแบบเล่นสิละ (ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชาวใต้) คือนอกจากจะนุ่งกางเกงขายาวธรรมดาเหมือนแต่เดิม ก็นุ่งผ้าโสร่งซอเกตลายสวยสดทับข้างนอกสั้นเหนือเข่าเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง พร้อมกับมีผ้าลือปักคาดสะเอว นอกนั้นก็สวมเสื้อคอกลมมีผ้าโพกศีรษะเหมือนเดิม ปัจจุบันนิยมแต่งกายแบบสมัยนิยม หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละคณะให้มีสีสันสดใสสะดุดตา

การเเสดงลิเกฮูลู

การแสดงจะเริ่มต้นการแสดงด้วยดนตรีโหมโรงเป็นการเรียกผู้ชมและเร้าอารมณ์คนดู สมัยก่อนมีการไหว้ครูในกรณีที่มีการประชันกันระหว่างหมู่บ้าน (หรืออาจมีหมอผีของแต่ละฝ่ายปัดรังควานไล่ผีคู่ต่อสู้ก็มี) ปัจจุบันสู้กันด้วยศิลปะหรือคารมอย่างเดียว เมื่อลูกคู่โหมโรงเสร็จ ต่อจากนั้นนักร้องต้นเสียงจะออกมาวาดลวดลายด้วยเพลงในจังหวะต่างๆ ทีละคน เริ่มต้นเนื้อร้องกล่าวถึงความประสงค์ในการเล่น แล้วจึงเข้าสู่เรื่องราวแสดง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวจากเหตุการณ์บ้านเมือง ปัญหาท้องถิ่น ความรักของหนุ่มสาว หรือเรื่องตลกโปกฮา

จากการสัมภาษณ์นายหะมะ แบลือแบ หรือแบมะ หัวหน้าคณะการแสดงดิเกฮูลู “มะ ยะหา” เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่บ้านในอำเภอยะหา จังหวัดยะลา ผู้ซึ่งเป็นครูภูมิปัญญาไทย ด้านศิลปกรรม สาขาการแสดงลิเกฮูลู๔ แบมะสันนิษฐานว่าดิเกฮูลูน่าจะมีส่วนเกี่ยวพันหรือถ่ายทอดซึ่งกันและกันกับการแสดงลำตัดในภาคกลาง เนื่องจากมีการประชันกันทั้งในด้านน้ำเสียงและไหวพริบในการโต้ตอบ

กรณีที่มีการประชัน หรือบางครั้งก็เป็นเรื่องราวกระทบกระแทกเสียดสีกัน หรือหยิบยกปัญหาต่างๆ มากล่าวเพื่อให้ผู้ชมชื่นชอบในการใช้คารมและปฏิภาณของผู้แสดง นับว่าเป็นการให้ความบันเทิง พร้อมทั้งให้ความรู้ สั่งสอนชาวบ้านผู้ชมไปในตัว

ประเพณีการแข่งขันจะมีการประชันระหว่างคณะต่างๆ เพื่อหาคณะที่ชนะเลิศในแต่ละปีที่มีกันมาตั้งแต่ในอดีต การตัดสินแตกต่างจากปัจจุบันเล็กน้อย คือในอดีตจะตัดสินผ่านพลังเสียง ไหวพริบในการโต้ตอบ ในการแสดงลูกคู่จึงนั่งล้อมกันเป็นวงกลม หัวหน้าวงจะอยู่ตรงกลาง การนั่งล้อมวงเพื่อให้เสียงรวมกันจุดเดียว ท่ารำประกอบการแสดงจะไม่หลากหลาย และเนื้อร้องเป็นภาษามลายู ปัจจุบันการแข่งขันจะตัดสินจากท่าทางของลูกคู่ด้วย ดังนั้นจึงต้องปรับรูปแบบในการนั่งเป็นนั่งเรียงหน้ากระดานเพื่อให้ผู้ชมได้เห็นท่ารำของลูกคู่อย่างชัดเจน ในส่วนของเนื้อร้องได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นภาษาไทยควบคู่ไปกับการร้องเป็นภาษามลายู

ลักษณะพิเศษของดิเกฮูลู คือหัวหน้าคณะหรือผู้ร้องนำสามารถเดินทางไปแสดงในที่ต่างๆ ในพื้นที่ที่มีคณะดิเกฮูลูได้โดยไม่ต้องมีลูกคู่ไปด้วย เพราะสามารถไปแสดงร่วมกับลูกคู่ของคณะอื่นๆ ได้

แบมะเล่าถึงจุดเริ่มต้นในการเข้ามาแสดงดิเกฮูลูว่า เมื่อสมัยวัยรุ่นได้ไปดูดิเกฮูลูที่มาเล่นในอำเภอยะหา รู้สึกสนใจอยากที่จะเรียนรู้จึงไปขอเรียนจากคณะที่เข้ามาแสดงที่อำเภอ จนกระทั่งมีความรู้เพียงพอที่จะมาแสดงและตั้งวงเป็นของตัวเอง

แบมะได้ปรับรูปแบบการแสดงดิเกฮูลูของตนโดยการนำเพลงลูกทุ่งเข้ามาผสมผสานในการร้อง มิได้มีไว้เพื่อความบันเทิงเท่านั้น หากมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการรณรงค์ โดยเนื้อหาในเพลงจะเกี่ยวข้องกับศาสนา สถานการณ์ปัจจุบัน และสอดแทรกข่าวสารจากรัฐบาล เช่น เรื่องคุณธรรมจริยธรรม ความสะอาด โรคเอดส์ ความรักชาติ ความสามัคคี เศรษฐกิจพอเพียง การเลือกตั้ง และภัยร้ายของยาเสพติด เข้าไปในเนื้อหาที่ใช้แสดง

พบว่าการแสดงดิเกฮูลูเป็นอีกสื่อหนึ่งที่สามารถเข้าถึงชาวบ้าน ทั้งยังเป็นตัวช่วยหนึ่งในการเผยแพร่รณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจถึงภัยร้ายต่างๆ และข้อปฏิบัติที่ถูกต้องดังที่กล่าวมาได้เป็นอย่างดี

การแสดงดิเกฮูลู แต่เดิมนิยมแสดงในงานพิธีต่างๆ เช่น มาแกปูโล๊ะ (งานแต่งงาน) พิธีเข้าสุหนัต งานเมาลิด งานฮารีรายอ งานบุญ และแสดงเพื่อแก้บน เป็นการขอพรจากพระอัลลอฮฺโดยผ่านการแสดงดิเก ปัจจุบันยังแสดงในงานเทศกาลต่างๆ ร่วมกับมหรสพอื่นๆ เช่น ในงานพิธีถวายพระพรวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น หรือเป็นการแสดงเพื่อมีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง

ดังเช่นคณะดิเกฮูลูที่กล่าวถึงในงานโฆษณาชุดสำนึกรักบ้านเกิดข้างต้น หรือที่รู้จักกันในนามของดิเกฮูลูคณะแหลมทราย ของนายเจะปอ สะแม แห่งตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นคณะเครือข่ายเพื่อปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะบริเวณรอบอ่าวปัตตานี การแสดงจะมีเนื้อหากล่าวถึงวิถีชีวิตของชุมชนประมงชายฝั่ง เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การแก้ปัญหาต่างๆ ของประมงพื้นบ้าน และวิถีชีวิตแต่ละวัน

โดยการแสดงออกผ่านท่าทางประกอบและการตบมือ เช่น การใช้มือแสดงท่าทาง โดยการโบกมือกวักมือ หมายถึงเรียกให้กลับบ้านให้มาดูแลทะเลบ้านเรา ท่าทางการตบมือเหมือนปลา เหมือนกับการแสดงให้เห็นถึงการเอาตัวรอดของปลาให้หลุดพ้นจากการตามล่า ทำลายจากระเบิด อวนลาก อวนรุก และท่าทางการตบมือชักเชือก ที่แสดงถึงความร่วมมือ ความสามัคคี โดยใช้เชือก ซึ่งเป็นเครื่องมือจับปลาของชาวประมงพื้นบ้าน เป็นสื่อให้เกิดพลังชุมชน เป็นต้น๕

ปัจจุบันดิเกฮูลูแสดงกันทั่วไปในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา นราธิวาส สงขลา สตูล และปัตตานี

ลิเกฮูลู

Posted: มิถุนายน 29, 2011 in สาระน่ารู้